วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม

เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม




โครงสร้างเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม

โครงสร้างและหน้าที่
เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ
      - ไม่มีไรโบโซม เกาะอยู่บนผิวของ ER
      - มีหน้าที่สร้างไขมัน อันได้แก่ ฟอสโฟลิปิด  ฮอร์โมนเพศและสเตรอยด์
ฮอร์โมน
      - เป็นที่สำหรับเก็บ Ca2+
      - มีหน้าที่ในขบวนการ เมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต
      - มีเอนไซม์สำหรับทำลายพิษของยา
      - พบมากที่ ลูกอัณฑะ (teste) รังไข่ (ovary) และผิวหนัง (skin)
2) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ
      - มีไรโบโซม เกาะอยู่บนผิวของเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม
      - เป็นที่สำหรับให้สายของโพลีเพปไทด์ ที่จะถูกส่งออกนอกเซลล์มีการพับ ไปสู่รูปร่าง
3 มิติ ที่ถูกต้องก่อนที่จะถูกส่งออกไปยังกอลจิแอพพาราตัส
      - เป็นที่สำหรับเติมคาร์โบไฮเดรต (โอลิโกแซคคาไรด์) ให้กับโปรตีนที่จะถูก ส่งออก
นอกเซลล์ ซึ่งก็คือ ไกลโคโปรตีน
      - โปรตีนที่จะออกจากเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม นั้นจะถูกห่อด้วย เยื่อหุ้มของ
เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมและกลายเป็นถุงเล็ก ๆ หลุดออกจากเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น