วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ไมโทคอนเดรีย

ไมโทคอนเดรีย (mitochondria)





 โครงสร้างไมโทคอนเดรีย
โครงสร้าง
      - มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 – 1.0 ไมโครเมตร ยาวประมาณ 1-10 ไมโครเมตร
      - ถูกหุ้มด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น
      - เยื่อหุ้มชั้นนอก (outer membrane ) มีลักษณะผิวเรียบ โมเลกุลขนาดเล็ก สามารถ
ผ่านได้ แต่โมเลกุลขนาดใหญ่ไม่สามารถผ่านได้
      - เยื่อหุ้มชั้นใน (inner membrane) ผนังเยื่อหุ้มจะพับเป็นรอยจีบยื่นเข้าไปข้างใน
เรียกว่า คริสตี (cristae) ห่อหุ้มของเหลวที่เรียกว่า แมทริกซ์ (matrix)ไว้
      - ระหว่างเยื่อหุ้มชั้นใน และ เยื่อหุ้มชั้นนอก เรียกว่า ช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มเซลล์
(intermembrane space)
      - คริสตีและแมทริกส์มีเอนไซม์ สำหรับการหายใจระดับเซลล์ (cellular respiration)
และ เป็นที่สังเคราะห์ ATP
      - มีไรโบโซม และDNAเป็นของตัวเอง
      - มีจำนวนเพียง 1 อัน หรือ เป็นหลาย ๆ พันในเซลล์ เช่น ในเซลล์ตับ จะมีไมโทคอนเดรีย
มากถึง 2,500 อันต่อเซลล์
      - ไมโทคอนเดรียภายในเซลล์ปกติจะมีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงรูปร่าง และเพิ่ม
จำนวนของตัวมันเอง
หน้าที่
      - เป็นที่สำหรับการหายใจระดับเซลล์ ซึ่งการหายใจระดับเซลล์ (cellular respiration) คือ กระบวนการที่พลังงานเคมีของ คาร์โบไฮเดรตถูกเปลี่ยน เป็น ATP ซึ่งเป็นตัวให้ พลังงาน
ภายในเซลล์ ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

                            C6H12O6 + O2 CO2 + H2O + พลังงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น