ไวรัส
หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์
ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น ไม่สามารถโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้
โครงสร้างของไวรัสจะประกอบด้วย 3 ส่วน
1. กรดนิวคลิอิก (Nucleic Acid หรือ Genome) ซึ่งเป็น RNA หรือ DNA
2. แคพซิด (Capsid) เป็นชั้นที่ห่อหุ้มกรดนิวคลิอิก ประกอบด้วย โปรตีนหน่วยเล็กๆ แคพซิดสามารถแบ่งได้ 3 กลุ่มคือ
- รูปร่างเป็นก้อนหรือเหลี่ยมลูกบาศก์ (Cubical Structure) ซึ่งการจัดเรียงแบบนี้มีลักษณะสมมาตรกันเรียกว่า Icosahedral Symmetry มี 12 มุม 20 หน้า
- รูปร่างเป็นแท่งกระบอก (Cylindrical Structure) มีการเรียงตัวของแคพซิดเป็นรูปขดลวดสปริงหรือบันไดวนหุ้มรอบกรดนิวคลิอิก มีลักษณะสมมาตรกันเรียกว่า Helical Symmetry
- รูปร่างไม่แน่นอนแบบซับซ้อนหรือรูปร่างจำเพาะแตกต่างกันไป (Complex Structure) ไวรัสพวกนี้มีรูปร่างแปลกๆเช่น คล้ายรูปลูกปืน คล้ายรูปก้อนอิฐ คล้ายยานอวกาศ
3. เปลือกหุ้ม (Envelope) เป็นชั้นที่หุ้มแคพซิด ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ไวรัสที่มีเปลือกหุ้มเรียกว่า Envelope Virus
ไวรัสที่ไม่มีเปลือกหุ้มเรียกว่า Non-Envelope หรือ Naked Virus
คุณสมบัติสำคัญทางชีววิทยาของไวรัส
1. ไวรัสมีกรดนิวคลีอิกเพียงชนิดเดียวเป็น DNA หรือ RNA
2. ไวรัสเพิ่มจำนวนได้ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น
3.เมื่อกรดนิวคลิอิกของไวรัสมีการเปลี่ยนแปลง ไวรัสจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ไวรัสแบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามกรดนิวคลีอิคที่เป็นองค์ประกอบ
1. DNA Virus ประกอบด้วย
-Poxviridae มีขนาด 230-300 นาโนเมตร มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมคล้ายก้อนอิฐบางชนิดเป็นรูปไข่ มีโครงสร้างซับซ้อน ได้แก่ ไข้ทรพิษ และเชื้อหูดข้าวสุก
-Herpesviridae มีขนาดประมาณ 150-200 นาโนเมตร แคพซิดเรียงตัวแบบรูปเต๋า มีเปลือกนอกหุ้มแคพซิด กลุ่มนี้ได้แก่ เชื้อโรคเริม เชื้ออีสุกอีใส
-Adenoviridae มีขนาด 70-90 นาโนเมตร แคพซิดเรียงตัวแบบลูกเต๋า ไม่มีเปลือกนอกหุ้มนิวเคลียส
-Papovaviridae มีขนาด 40-50 นาโนเมตร แคพซิดเรียงตัวแบบลูกเต๋า ไม่มีเปลือกนอก กลุ่มนี้ได้แก่ เชื้อที่เกิดโรคหูด
-Parvovirvidaeมีขนาดค่อนข้างเล็กประมาณ 20 นาโนเมตร แคพซิดเรียงตัวแบบลูกเต๋า ไม่มีเปลือกหุ้ม กลุ่มนี้ได้แก่ เชื้อที่ทำให้เกิดไข้ออกผื่นในเด็ก (Fifth Disease)
-Iridoviridae มีขนาดใหญ่ ทำให้เกิดโรคในสัตว์ไม่เคยพบว่าเกิดโรคในคน
2. RNA Virus ประกอบด้วย
-Orthomyxoviridae มีขนาดประมาณ 100 นาโนเมตร แคพซิดเรียงตัวแบบบันไดเวียน มีเปลือกนอกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ที่เปลือกนี้จะมีติ่งยื่นออกมา ซึ่งจะมีสารที่ทำให้เม็ดเลือดแดงจับ กลุ่มนี้ได้แก่ เชื้อโรคที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่
-Paramyxoviridae มีขนาดใหญ่ประมาณ 150-300 นาโนเมตร แคพซิดเรียงตัวเป็นบันไดเวียน มีเปลือกนอกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ที่เปลือกหุ้มจะมีติ่งยื่นออกมา กลุ่มนี้ได้แก่เชื้อที่ทำให้เกิดโรคคางทูม เชื้อที่ทำให้เกิดโรคหัด
-Togaviridae มีขนาด 40-70 นาโนเมตร แคพซิดเรียงตัวแบบ ลูกเต๋า มีเปลือกนอกหุ้ม กลุ่มนี้ได้แก่ เชื้อไข้เลือดออก หัดเยอรมัน ไข้เหลือง ไข้สมองอักเสบ
-Bunyaviridae มีขนาด 40-70 นาโนเมตร แคพซิดเรียงตัวแบบลูกเต๋า มีเปลือกนอกหุ้ม
-Rhabdoviridae มีขนาด 70-175 นาโนเมตร รูปร่างคล้ายลูกปืนมีเปลือกนอก กลุ่มนี้ได้แก่เชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคกลัวน้ำ
-Retroviridae มีขนาด 150 นาโนเมตร มี DNA จำนวนเล็กน้อยปนอยู่ด้วย แคพซิดเป็นแบบลูกเต๋า มีเปลือกนอกหุ้ม ไวรัสกลุ่มนี้มีเอนไซม์ Reverse Transcriptase ซึ่งจะสร้าง DNA ขึ้นมาได้ ได้แก่เชื้อ HIV ที่ทำให้เกิดโรคเอดส์
-Coronaviridae มีขนาด 80-220 นาโนเมตร แคพซิดเป็นรูปบันไดเวียน มีเปลือกนอกหุ้ม และมีตุ่มยื่นออกมาโดยรอบ ได้แก่เชื้อที่ทำให้เกิดหลอดลมอักเสบ
-Arenaviridae ขนาด 50-300 นาโนเมตร แคพซิดเป็นรูปบันไดเวียน ภายในแคพซิดจะเห็นเป็นจุดเล็กๆอยู่ทั่วไป จุดเล็กนี้คือไรโบโซมแล้วมีเปลือกนอกหุ้มอีกที กลุ่มนี้ได้แก่ เชื้อที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
-Reoviridae มีขนาด 60-80 นาโนเมตร แคพซิดแบบลูกเต๋า บางตัวมีแคพซิด 2 ชั้นซ้อนกันไม่มีเปลือกหุ้ม กลุ่มนี้ได้แก่ เชื้อที่ทำให้เกิดท้องเสีย
-Picornaviridae มีขนาดประมาณ 20-30 นาโนเมตร แคพซิดเป็น แบบลูกเต๋า ไม่มีเปลือกหุ้ม กลุ่มนี้ได้แก่ เชื้อที่ทำให้เกิดโรคโปลิโอ และไข้หวัด
การเพิ่มจำนวนของไวรัส
1. Adsorption หรือ Attachment ไวรัสจะทำการเกาะบนผิวเซลล์ที่บริเวณตัวรับจำเพาะ (Specific Receptor)
2. Penetrationไวรัสเข้าสู่เซลล์โดยเคลื่อนที่ผ่านผนังเซลล์โดยตรง และจะเกิดการหลอมรวมระหว่างเปลือกหุ้มของไวรัสและผนังเซลล์
3. Uncoating ไวรัสจะใช้เอนไซม์จากโฮสต์ในการย่อยแคพซิดและปล่อยกรดนิวคลิอิกออกมาในไซ โตพลาสซึมเพื่อเพิ่มจำนวน
4. Transcription เป็นการสร้าง mRNA เพื่อนำไปแปลรหัส (Translation) สร้างโปรตีนชนิดต่างๆเพื่อประกอบเป็นไวรัส
การสร้างกรดนิวคลิอิกของ RNA ไวรัสเกิดขึ้นในไซโตพลาสซึม แต่ใน DNA ไวรัส จะเกิดในนิวเคลียส (Necleus)
5. Assembly and Maturation ส่วนประกอบต่างๆ ที่สร้างขึ้นจะประกอบกันเป็นไวรัสที่สมบูรณ์
6. Release หลังจากประกอบเป็นไวรัสที่สมบูรณ์แล้วไวรัสจะออกมานอกเซลล์
ปัจจัย ในการทำลายเชื้อไวรัสมี 2 อย่าง
1. ปัจจัยทางกายภาพ โดยปัจจัยทางกายภาพแบ่งได้เป็น
-ความร้อน มีทั้งความร้อนชื้นและความร้อนแห้ง ความร้อนแห้งได้แก่ การเผาไฟโดยตรง ใช้ตู้เผาหรือเตาเผาความร้อนชื้น ได้แก่ การต้ม การนึ่งในหมอนึ่งฆาเชื้อ(Autoclave) และการพาสเจอร์ไรส์ (Pasteurize) เป็นต้นโดยทั่วไปการใช้ความร้อนที่ 50-60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที จะสามารถฆ่าไวรัสส่วนใหญ่ได้ แต่ถ้าต้องการฆ่าเชื้อไวรัสทุกชนิดให้หมดอย่างสมบูรณ์ต้องใช้วิธีการนึ่งด้วย ไอน้ำที่ความดัน 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว ที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 นาที
-แสงอัตราไวโอเลต (UV) แสงมักใช้ในการฆ่าเชื้อในอากาศเพราะแสงไม่สามารถแทรกผ่านตัวกลางที่เป็นของ เหลวหรือของแข็งได้
2. ปัจจัยทางสารเคมี สารเคมีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายได้แก่
-สารละลาย Sodium Hypochlorite ใช้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดโต๊ะ ทำงาน ภาชนะ หรืออุปกรณ์ต่างๆ แต่มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะvปริมาณความเข้มข้นที่ใช้อยู่ที่ 0.5-1 เปอร์เซนต์
-คลอรีน ใช้ในการทำลายเชื้อในน้ำประปาหรือสระว่ายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ทำให้น้ำเสียรสชาติ อีกทั้งไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์อยางรุนแรง
-สารละลายไอโอดีนหรือทิงเจอร์ ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อ
-ฟอร์มาลดีไฮด์หรือฟอร์มาลิน เป็นสารละลายที่มีแก๊สฟอร์มาลดีไฮด์ละลายอยู่ แต่ทั้งสารละลายและไอมีพิษต่อเนื้อเยื่อมาก ใช้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อได้ผลดี นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ในรูปของก๊าซเพื่ออบห้องฆ่าเชื้อในอากาศ
-แอลกอฮอล์ (Alcohol) ใชในการฆาเชื้อและทำความสะอาด ความเขมขนที่เหมาะสมอยูที่ 60-80 เปอรเซ็นต
-ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) โดยทั่วไปใช้ ความเข้มข้น 3 เปอร์เซนต์ นำมาใช้ในการล้างแผล เพราะเมื่อถูกกับเอนไซม์ Catalase ในเนื้อเยื่อ จะสลายตัวเกิด ก๊าซออกซิเจนเป็นฟองฟู่
หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์
ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น ไม่สามารถโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้
โครงสร้างของไวรัสจะประกอบด้วย 3 ส่วน
1. กรดนิวคลิอิก (Nucleic Acid หรือ Genome) ซึ่งเป็น RNA หรือ DNA
2. แคพซิด (Capsid) เป็นชั้นที่ห่อหุ้มกรดนิวคลิอิก ประกอบด้วย โปรตีนหน่วยเล็กๆ แคพซิดสามารถแบ่งได้ 3 กลุ่มคือ
- รูปร่างเป็นก้อนหรือเหลี่ยมลูกบาศก์ (Cubical Structure) ซึ่งการจัดเรียงแบบนี้มีลักษณะสมมาตรกันเรียกว่า Icosahedral Symmetry มี 12 มุม 20 หน้า
- รูปร่างเป็นแท่งกระบอก (Cylindrical Structure) มีการเรียงตัวของแคพซิดเป็นรูปขดลวดสปริงหรือบันไดวนหุ้มรอบกรดนิวคลิอิก มีลักษณะสมมาตรกันเรียกว่า Helical Symmetry
- รูปร่างไม่แน่นอนแบบซับซ้อนหรือรูปร่างจำเพาะแตกต่างกันไป (Complex Structure) ไวรัสพวกนี้มีรูปร่างแปลกๆเช่น คล้ายรูปลูกปืน คล้ายรูปก้อนอิฐ คล้ายยานอวกาศ
3. เปลือกหุ้ม (Envelope) เป็นชั้นที่หุ้มแคพซิด ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ไวรัสที่มีเปลือกหุ้มเรียกว่า Envelope Virus
ไวรัสที่ไม่มีเปลือกหุ้มเรียกว่า Non-Envelope หรือ Naked Virus
คุณสมบัติสำคัญทางชีววิทยาของไวรัส
1. ไวรัสมีกรดนิวคลีอิกเพียงชนิดเดียวเป็น DNA หรือ RNA
2. ไวรัสเพิ่มจำนวนได้ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น
3.เมื่อกรดนิวคลิอิกของไวรัสมีการเปลี่ยนแปลง ไวรัสจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ไวรัสแบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามกรดนิวคลีอิคที่เป็นองค์ประกอบ
1. DNA Virus ประกอบด้วย
-Poxviridae มีขนาด 230-300 นาโนเมตร มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมคล้ายก้อนอิฐบางชนิดเป็นรูปไข่ มีโครงสร้างซับซ้อน ได้แก่ ไข้ทรพิษ และเชื้อหูดข้าวสุก
-Herpesviridae มีขนาดประมาณ 150-200 นาโนเมตร แคพซิดเรียงตัวแบบรูปเต๋า มีเปลือกนอกหุ้มแคพซิด กลุ่มนี้ได้แก่ เชื้อโรคเริม เชื้ออีสุกอีใส
-Adenoviridae มีขนาด 70-90 นาโนเมตร แคพซิดเรียงตัวแบบลูกเต๋า ไม่มีเปลือกนอกหุ้มนิวเคลียส
-Papovaviridae มีขนาด 40-50 นาโนเมตร แคพซิดเรียงตัวแบบลูกเต๋า ไม่มีเปลือกนอก กลุ่มนี้ได้แก่ เชื้อที่เกิดโรคหูด
-Parvovirvidaeมีขนาดค่อนข้างเล็กประมาณ 20 นาโนเมตร แคพซิดเรียงตัวแบบลูกเต๋า ไม่มีเปลือกหุ้ม กลุ่มนี้ได้แก่ เชื้อที่ทำให้เกิดไข้ออกผื่นในเด็ก (Fifth Disease)
-Iridoviridae มีขนาดใหญ่ ทำให้เกิดโรคในสัตว์ไม่เคยพบว่าเกิดโรคในคน
2. RNA Virus ประกอบด้วย
-Orthomyxoviridae มีขนาดประมาณ 100 นาโนเมตร แคพซิดเรียงตัวแบบบันไดเวียน มีเปลือกนอกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ที่เปลือกนี้จะมีติ่งยื่นออกมา ซึ่งจะมีสารที่ทำให้เม็ดเลือดแดงจับ กลุ่มนี้ได้แก่ เชื้อโรคที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่
-Paramyxoviridae มีขนาดใหญ่ประมาณ 150-300 นาโนเมตร แคพซิดเรียงตัวเป็นบันไดเวียน มีเปลือกนอกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ที่เปลือกหุ้มจะมีติ่งยื่นออกมา กลุ่มนี้ได้แก่เชื้อที่ทำให้เกิดโรคคางทูม เชื้อที่ทำให้เกิดโรคหัด
-Togaviridae มีขนาด 40-70 นาโนเมตร แคพซิดเรียงตัวแบบ ลูกเต๋า มีเปลือกนอกหุ้ม กลุ่มนี้ได้แก่ เชื้อไข้เลือดออก หัดเยอรมัน ไข้เหลือง ไข้สมองอักเสบ
-Bunyaviridae มีขนาด 40-70 นาโนเมตร แคพซิดเรียงตัวแบบลูกเต๋า มีเปลือกนอกหุ้ม
-Rhabdoviridae มีขนาด 70-175 นาโนเมตร รูปร่างคล้ายลูกปืนมีเปลือกนอก กลุ่มนี้ได้แก่เชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคกลัวน้ำ
-Retroviridae มีขนาด 150 นาโนเมตร มี DNA จำนวนเล็กน้อยปนอยู่ด้วย แคพซิดเป็นแบบลูกเต๋า มีเปลือกนอกหุ้ม ไวรัสกลุ่มนี้มีเอนไซม์ Reverse Transcriptase ซึ่งจะสร้าง DNA ขึ้นมาได้ ได้แก่เชื้อ HIV ที่ทำให้เกิดโรคเอดส์
-Coronaviridae มีขนาด 80-220 นาโนเมตร แคพซิดเป็นรูปบันไดเวียน มีเปลือกนอกหุ้ม และมีตุ่มยื่นออกมาโดยรอบ ได้แก่เชื้อที่ทำให้เกิดหลอดลมอักเสบ
-Arenaviridae ขนาด 50-300 นาโนเมตร แคพซิดเป็นรูปบันไดเวียน ภายในแคพซิดจะเห็นเป็นจุดเล็กๆอยู่ทั่วไป จุดเล็กนี้คือไรโบโซมแล้วมีเปลือกนอกหุ้มอีกที กลุ่มนี้ได้แก่ เชื้อที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
-Reoviridae มีขนาด 60-80 นาโนเมตร แคพซิดแบบลูกเต๋า บางตัวมีแคพซิด 2 ชั้นซ้อนกันไม่มีเปลือกหุ้ม กลุ่มนี้ได้แก่ เชื้อที่ทำให้เกิดท้องเสีย
-Picornaviridae มีขนาดประมาณ 20-30 นาโนเมตร แคพซิดเป็น แบบลูกเต๋า ไม่มีเปลือกหุ้ม กลุ่มนี้ได้แก่ เชื้อที่ทำให้เกิดโรคโปลิโอ และไข้หวัด
การเพิ่มจำนวนของไวรัส
1. Adsorption หรือ Attachment ไวรัสจะทำการเกาะบนผิวเซลล์ที่บริเวณตัวรับจำเพาะ (Specific Receptor)
2. Penetrationไวรัสเข้าสู่เซลล์โดยเคลื่อนที่ผ่านผนังเซลล์โดยตรง และจะเกิดการหลอมรวมระหว่างเปลือกหุ้มของไวรัสและผนังเซลล์
3. Uncoating ไวรัสจะใช้เอนไซม์จากโฮสต์ในการย่อยแคพซิดและปล่อยกรดนิวคลิอิกออกมาในไซ โตพลาสซึมเพื่อเพิ่มจำนวน
4. Transcription เป็นการสร้าง mRNA เพื่อนำไปแปลรหัส (Translation) สร้างโปรตีนชนิดต่างๆเพื่อประกอบเป็นไวรัส
การสร้างกรดนิวคลิอิกของ RNA ไวรัสเกิดขึ้นในไซโตพลาสซึม แต่ใน DNA ไวรัส จะเกิดในนิวเคลียส (Necleus)
5. Assembly and Maturation ส่วนประกอบต่างๆ ที่สร้างขึ้นจะประกอบกันเป็นไวรัสที่สมบูรณ์
6. Release หลังจากประกอบเป็นไวรัสที่สมบูรณ์แล้วไวรัสจะออกมานอกเซลล์
ปัจจัย ในการทำลายเชื้อไวรัสมี 2 อย่าง
1. ปัจจัยทางกายภาพ โดยปัจจัยทางกายภาพแบ่งได้เป็น
-ความร้อน มีทั้งความร้อนชื้นและความร้อนแห้ง ความร้อนแห้งได้แก่ การเผาไฟโดยตรง ใช้ตู้เผาหรือเตาเผาความร้อนชื้น ได้แก่ การต้ม การนึ่งในหมอนึ่งฆาเชื้อ(Autoclave) และการพาสเจอร์ไรส์ (Pasteurize) เป็นต้นโดยทั่วไปการใช้ความร้อนที่ 50-60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที จะสามารถฆ่าไวรัสส่วนใหญ่ได้ แต่ถ้าต้องการฆ่าเชื้อไวรัสทุกชนิดให้หมดอย่างสมบูรณ์ต้องใช้วิธีการนึ่งด้วย ไอน้ำที่ความดัน 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว ที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 นาที
-แสงอัตราไวโอเลต (UV) แสงมักใช้ในการฆ่าเชื้อในอากาศเพราะแสงไม่สามารถแทรกผ่านตัวกลางที่เป็นของ เหลวหรือของแข็งได้
2. ปัจจัยทางสารเคมี สารเคมีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายได้แก่
-สารละลาย Sodium Hypochlorite ใช้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดโต๊ะ ทำงาน ภาชนะ หรืออุปกรณ์ต่างๆ แต่มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะvปริมาณความเข้มข้นที่ใช้อยู่ที่ 0.5-1 เปอร์เซนต์
-คลอรีน ใช้ในการทำลายเชื้อในน้ำประปาหรือสระว่ายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ทำให้น้ำเสียรสชาติ อีกทั้งไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์อยางรุนแรง
-สารละลายไอโอดีนหรือทิงเจอร์ ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อ
-ฟอร์มาลดีไฮด์หรือฟอร์มาลิน เป็นสารละลายที่มีแก๊สฟอร์มาลดีไฮด์ละลายอยู่ แต่ทั้งสารละลายและไอมีพิษต่อเนื้อเยื่อมาก ใช้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อได้ผลดี นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ในรูปของก๊าซเพื่ออบห้องฆ่าเชื้อในอากาศ
-แอลกอฮอล์ (Alcohol) ใชในการฆาเชื้อและทำความสะอาด ความเขมขนที่เหมาะสมอยูที่ 60-80 เปอรเซ็นต
-ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) โดยทั่วไปใช้ ความเข้มข้น 3 เปอร์เซนต์ นำมาใช้ในการล้างแผล เพราะเมื่อถูกกับเอนไซม์ Catalase ในเนื้อเยื่อ จะสลายตัวเกิด ก๊าซออกซิเจนเป็นฟองฟู่
ไวรัสอีสุกอีใส