วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ผิดปกติ  ซึ่งควบคุมโดยยีนด้อยนั้น แม้จะดูจากภานอกทั้งพ่อและแม่จะมีลักษณะปกติ   แต่ทั้งคู่มียีนด้อย ซึ่งมีลักษณะผิดปกติแฝงอยู่หรือเรียกได้ว่าทั้งพ่อและแม่เป็นพาหะของลักษณะผิดปกตินั้น ลูกก็มีโอกาสได้รับยีนผิดปกตินั้นทั้งคู่ได้ เช่น
ชายหญิงคู่หนึ่งแต่งงานกันและมาทราบภายหลังว่าทั้งคู่เป็นพาหะของผิวเผือก ลูกจะมีโอกาสเป็นผิวเผือกหรือไม่อย่างไร โดยกำหนดให้ R ผิดปกติ r ผิวเผือก
                              ผู้ชายพาหะ                                 ผู้หญิงผิวเผือก
                                        Rr                 x                             Rr
เซลล์สืบพันธุ์                   R หรือ r                                        R หรือ r

                              เซลล์สืบพันธุ์เพศชาย
เซลล์สืบพันธุ์เพศหญิง
R
r
R
RR
Rr
r
Rr
rr

         จะเห็นได้ว่า ลูกที่เกิดมามีฟีโนไทป์ 2 แบบ คือ       
ผิวเผือก 25%   ผิวปกติ 75%   ได้แก่   ผิวปกติพาหะ 50%   และผิวปกติ 25%
       นอกจากโรคผิวเผือกแล้วยังมีโรคพันธุกรรมหลายโรคเป็นยีนค้อยและตั้งอยู่บน  Autosome  ได้แก่  ธาลัสซีเมีย  เป็นโรคที่มีอาการโลหิตจาง ดีซ่าน แคระแกรน เติบโตไม่สมอายุ เซลล์เม็ดเลือดแดงเป็นรูปเคียว ทำให้การลำเลียงออกซิเจนไม่ดีเท่าที่ควร
        การถ่ายทอดทางพันธุกรรมของลักษณะที่ควบคุมโดยยีนเด่น จะถ่ายทอดจากชายหรือหญิงที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเป็นยีนเด่นทั้งคู่ หรือมียีนเด่นคู่กับยีนด้อยก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น